Team : Research and Development
Contact : se.somluck@lpn.co.th ,ug.phailin@lpn.co.th, an.pornthip@lpn.co.th
ตลาดอสังหาริมทรัพย์พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสแรกปี 2567 มีจำนวนหน่วยการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลง 28%(YoY) แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 19%(YoY) ผลจากการเปิดตัวอาคารชุดชะลอตัวลง ในขณะที่การเปิดตัวบ้านพักอาศัยในกลุ่มพรีเมี่ยมยังคงเติบโตต่อเนื่อง
Source : LWS
โดยในเดือน มกราคม-มีนาคม(ไตรมาสแรก) 2567 มีจำนวนโครงการเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ทั้งสิ้น 90 โครงการ จำนวน 15,697 หน่วย ลดลง 28% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัว 21,935 หน่วย ในระยะเดียวกันของปี 2566 ในขณะที่มูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่อยู่ที่ 95,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากมูลค่าเปิดตัวโครงการ 79,675 ล้านบาท ในระยะเดียวกันของปี 2566 โดยมีอัตราการขายเฉลี่ย ณ วันเปิดตัวที่ 12% ลดลงจากอัตราการขายเฉลี่ยที่ 19% ในปี 2566
เมื่อเทียบสัดส่วนระหว่างไตรมาส (QoQ) ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสแรกปี 2567 มีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล สะสมเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ทั้งสิ้น 15,697 หน่วย ลดลง 50% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2566 และมีมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 95,051 ล้านบาทลดลง 54% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2566 โดยที่ราคาขายต่อหน่วยเฉลี่ย 6.06 ล้านบาท
Source : LWS
การเปิดตัวโครงการใหม่สะสมไตรมาสแรก ปี 2567 เป็นส่วนของโครงการอาคารชุดพักอาศัย 15 โครงการ คิดเป็นจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ 5,727 หน่วย ลดลง 51% คิดเป็นมูลค่า 14,005 ล้านบาท ลดลง 51% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัว 11,758 หน่วย และมูลค่าเปิดตัว 28,330 ล้านบาท ในระยะเดียวกันของปี 2566 โดยมีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวที่ 19% ลดลงจากอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวที่ 31% ในระยะเดียวกันของปี 2566 โดยที่ราคาขายเฉลี่ยของอาคารชุดพักอาศัย ในช่วงปี 2567 อยู่ที่ 2.45 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 2.41 ล้านบาท ในปี 2566 และมีหน่วยเปิดตัวสูงสุดในไตรมาสแรกปี 67 ในทำเล เตาปูน-ประดิพัทธ์ และขายได้ดีในทำเลใกล้สถานศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เน้นกลุ่มนักลงทุน นักศึกษา
Source : LWS
ในส่วนของการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทจำนวน 53 โครงการ จำนวน 8,074 หน่วยลดลง 13% คิดเป็นมูลค่า 35,990 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2566 ที่มีจำนวนหน่วยเปิดตัว 9,303 หน่วยและมูลค่า 34,387 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2566 โดยมีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวโครงการที่ 7% เพิ่มขึ้นจากอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวที่ 5% ของระยะเดียวกันของปี 2566 โดยมีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 8.13 ล้านบาทต่อหน่วยในช่วงปี 2567 เพิ่มขึ้น 60.99% จากราคาขายเฉลี่ยที่ 5.05 ล้านบาทต่อหน่วย ในช่วงปี 2566 และเปิดตัวสูงสุดและขายได้ดีในทำเลลำลูกกา บ้านพักอาศัยประเภททาวน์เฮาส์ราคาไม่เกิน 2-3 ล้านบาทขายได้ดีในเดือนมีนาคม
Source : LWS
และเป็นการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยที่ระดับราคาเกิน 10 ล้านบาท จำนวน 24 โครงการ จำนวน 1,896 หน่วย เพิ่มขึ้น 117% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัว 874 หน่วยในระยะเดียวกันของปี 2566 โดยมีมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่ของปี 2567 ของบ้านพักอาศัยระดับราคาเกิน 10 ล้านบาทที่ 45,056 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 166% จากมูลค่าการเปิดตัวโครงการที่ 16,264 ล้านบาทในปี 2566 มีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวเฉลี่ยที่ 9% เท่ากับอัตราการขายเฉลี่ยที่ 9% ในระยะเดียวกันของปี 2566 โดยที่ระดับราคาขายของบ้านระดับราคาเกิน 10 ล้านบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 23.8 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 22.68% จากราคาขายในปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 19.4 ล้านบาทต่อหน่วย เปิดตัวสูงสุดในทำเลสุขาภิบาล 5 ขายดีในกลุ่มบ้านเดี่ยว ทำเลบางนา-ตราด กม.10-30
(หมายเหตุ : มี 2 โครงการที่มีทั้งโครงการบ้านพักอาศัยระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทและบ้านพักอาศัยราคามากกว่า 10 ล้านบาท อยู่ในโครงการเดียวกัน ทำให้มีการนับจำนวนโครงการซ้ำ)
Source : LWS
นอกจากนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 ที่อยู่อาศัยจดทะเบียนในเขตกรุงเทพ-ปริมณฑล ลดลงเล็กน้อย 0.7% (YoY) โดยที่อยู่อาศัยจดทะเบียนไตรมาส 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้น 19% (YoY) เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบ ประเภทอาคารชุด 21% และประเภทบ้านจัดสรร 24% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปี 2565
ในขณะที่แอล ดับเบิล ยู เอส คาดการณ์หน่วยคงค้างที่อยู่อาศัย ไตรมาสแรกปี 67 เพิ่มขึ้น 1-2% ผลมาจากที่อยู่อาศัยประเภทบ้านพักอาศัยเพิ่มขึ้น 2.3% และคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับช่วงปี 66 เนื่องจากมีการเปิดตัวโครงการใหม่มากขึ้นตั้งแต่ปี 65-66 แต่มีอัตราการขายได้ลดลง ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการระบายสินค้าคงค้างอีกประมาณ 5 ปี ทั้งบ้านพักอาศัยและคอนโดมิเนียม
Source : LWS
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาสแรก นอกจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยระดับสูงที่ 2.50% กระทบต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและ ต้นทุนการกู้เงินของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเข้มงวดต่อการอนุมัติสินเชื่อ มีอัตราปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ 69% หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงที่ 91.4% รวมถึงอัตราเงินเฟ้อลดลงในไตรมาส 1 ปี 67 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ -0.79% ทำให้มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเงินฝืด แต่ยังมีปัจจัยส่งเสริมภาคอสังหาริมทรัพย์อย่าง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลงเล็กน้อยที่ระดับเกิน 54.1 อัตราการว่างงานต่ำกว่า 1% ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาสแรกปรับตัวลดลง 1.2% (YoY) ผลมาจากราคาเหล็กและราคาสุขภัณฑ์ปรับตัวลดลงจากวิกฤตอสังหาฯในจีน และการชะลอตัวจากภาคธุรกิจอสังหาฯในประเทศ
ขณะที่เดือนมีนาคมได้มีประกาศมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ทั้งการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท โครงการบ้านบีโอไอ และมาตรการดอกเบี้ยคงที่ในอัตราต่ำของธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินจะกระตุ้นกำลังซื้ออสังหาฯ 9 เดือนสุดท้ายของปี2567 ที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
Source : LWS
Comments