Team : Research Development
Contact : se.somluck@lpn.co.th ,an.pornthip@lpn.co.th
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสแรกปี 2566 มีการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลง 5% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2565 และมูลค่าลดลง 1% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ซื้อชะลอการตัดสินใจซื้อ
ผลการวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสแรกปี 2566 มีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล สะสมเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 ทั้งสิ้น 21,935 หน่วย ลดลง 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2565 และมีมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 79,675 ล้านบาทลดลง 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2565 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสสี่ของ 2565 การเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาสแรกของปี 2566 หน่วยเปิดตัวลดลง 19% และมูลค่าเปิดตัวลดลง 40% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2565 โดยที่ราคาขายต่อหน่วยเฉลี่ย 3.63 ล้านบาท
ผลการวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสแรกปี 2566 มีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล สะสมเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 ทั้งสิ้น 21,935 หน่วย ลดลง 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2565 และมีมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 79,675 ล้านบาทลดลง 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2565 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสสี่ของ 2565 การเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาสแรกของปี 2566 หน่วยเปิดตัวลดลง 19% และมูลค่าเปิดตัวลดลง 40% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2565 โดยที่ราคาขายต่อหน่วยเฉลี่ย 3.63 ล้านบาท
คอนโดมิเนียมเป็นโครงการที่มีจำนวนหน่วยในการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาสแรกของปี 2566 น้อยที่สุดโดยมีการเปิดตัวคอนโดมิเนียม จำนวน 23 โครงการจำนวน 11,758 หน่วย มูลค่า 28,330 ล้านบาท ลดลง 23% และ 34% ตามลำดับ โดยมีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวเฉลี่ย 31% ลดลงเมื่อเทียบกับอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวเฉลี่ยที่ 36% ในปี 2565
Source : LWS
Source : LWS
Source : LWS
ในขณะที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัย จำนวน 65 โครงการ จำนวน 10,177 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 51,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% และ 37% ตามลำดับ โดยมี อัตราขาย ณ วันเปิดตัวโครงการ เฉลี่ย 6% ลดลงจากอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวเฉลี่ยที่ 10% ในปี 2565
Source : LWS
โดยที่ทาวน์เฮาส์ ช่วงราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยเปิดตัวสูงที่สุดของบ้านพักอาศัยประเภท ทาวน์เฮาส์ อัตราขายได้เฉลี่ย 5% เปิดตัวสูงสุดในทำเล นวนคร เพชรเกษม พุทธบูชาและอ้อมน้อย ส่วนของบ้านแฝด ในช่วงราคา 3-5 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยเปิดตัวสูงสุดในบ้านพักอาศัยประเภทบ้านแฝด อัตราขายได้เฉลี่ย 7% เปิดตัวในทำเล บางใหญ่-กาญจนาภิเษก ประชาอุทิศ-พุทธบูชา และรังสิต
สำหรับตลาดบ้านเดี่ยวพบว่ามีการเปิดตัวโครงการใหม่ระดับ 5-10 ล้านบาท มีอัตราขายได้เฉลี่ย 5% เปิดตัวสะสมในทำเล บางใหญ่-กาญจนาภิเษก และ ลาดกระบัง
เช่นเดียวกับโครงการบ้านระดับพรีเมี่ยม มีจำนวน 22 โครงการ มูลค่ารวม 16,958 ล้านบาท รูปแบบบ้านเดี่ยว คิดเป็นสัดส่วน 97% โดยระดับราคา 10-20 ล้านบาทโดยเปิดตัวมากที่สุดใน ทําเลรอบกรุงเทพฯ รังสิต ตลิ่งชัน และวัชรพล
Source : LWS
อัตราการขาย ณ วันเปิดตัวโครงการที่มีแนวโน้มลดลงทั้งอาคารชุดและบ้านพักอาศัย ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ผนวกกับอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และมาตรการผ่อนปรนสัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักทรัพย์(Loan to Value: LTV) หมดอายุไปเมื่อสิ้นปี 2565 ทำให้ผู้ซื้อชะลอแผนซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566
นอกจากนี้ ไตรมาสแรกของปี 2566 ที่อยู่อาศัยจดทะเบียนในเขตกรุงเทพ-ปริมณฑล 2565 ฟื้นตัวเพิ่มขึ้น 9.7% (YoY) เพิ่มสูงสุดในประเภทอาคารชุด 11.3% รองลงมาคือ บ้านปลูกสร้างเองและบ้านจัดสรร 11.1% และ 6.3% ผลจากสถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลายตั้งแต่ไตรมาส 4/64 ทําให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นกลับมาพัฒนาโครงการกันเพิ่มขึ้นและจากสถานการณ์การเปิดตัวโครงการใหม่จํานวนมากในปี 2565 ที่ผ่านมาทําให้ในปี 2566 ในขณะที่จํานวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิทั่วประเทศปี 2565 อยู่ที่ 392,858 หน่วยเพิ่มขึ้น 14.3% คิดเป็นมูลค่า 1,065,008 ล้านบาท เติบโต 13.3% เป็นผลจากผู้ซื้อเร่งโอนก่อนที่มาตรการผ่อนคลาย LTV จะหมดอายุ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2565
ในขณะที่เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2566 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2566 ต่ำสุดในรอบ 15เดือน อยู่ที่ 2.83% ผลมาจากราคาพลังงานที่ทรงตัวและสินค้าในหมวดอาหารทรงตัว ทำให้ในไตรมาสแรก 2566 อัตราเงินเฟ้อ เฉลี่ยอยู่ที่ 3.88% โดยที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ปี 2566 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.25- 0.5% ต่อเนื่องในไตรมาสสองของปี 2566 หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.25% จาก 1.50% เป็น1.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 เป็น 4.75-5.00%ช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทําให้คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี
Source : LWS
Comments