top of page

ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ สะสม ม.ค.-พ.ค. 2565 จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 124%(YoY) มูลค่าเพิ่มขึ้น 40%(YoY)

Updated: Oct 27, 2022

Team : Research Development

Contact : se.somluck@lpn.co.th, an.pornthip@lpn.co.th

“ลุมพินี วิสดอม” ระบุตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล สะสมเดือน ม.ค.-พ.ค. 2565 จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 124% (YoY) มูลค่าเพิ่มขึ้น 40% (YoY)

ผลการวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์กรุงเทพฯ-ปริมณฑลสะสมเดือน ม.ค.- พ.ค. 2565 มีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ทั้งสิ้น 39,304 หน่วย เพิ่มขึ้น 124% (YoY) เมื่อเทียบกับหน่วยสะสมระยะเดียวกันของปี 2564 และมีมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 144,694 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% (YoY) แบ่งเป็นการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมีหน่วยเปิดตัวใหม่เพิ่มขึ้น 37%(YoY)เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 จำนวน 34 โครงการ 24,772 หน่วย มูลค่า 67,725 ล้านบาท และมีอัตราขายเฉลี่ยอยู่ที่ 34%

Source : LWS


Source : LWS


ในขณะที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัย มีหน่วยเปิดตัวใหม่เพิ่มขึ้น 30%(YoY) จำนวน 82 โครงการ จำนวน 14,532 หน่วย มูลค่า 76,968 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42%(YoY)เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 และมีอัตราขายเฉลี่ยอยู่ที่ 12%

Source : LWS


โดยที่ทาวน์เฮาส์ ช่วงราคา 2-5 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยเปิดตัวและหน่วยขายได้สูงที่สุดของบ้านพักอาศัยทุกประเภท อัตราขายได้เฉลี่ย 12% เปิดตัวสูงสุดในทำเลศรีนครินทร์-บางนา-สุวรรณภูมิ รองลงมาคือทำเล เพชรเกษม-อ้อมน้อย


ขณะที่บ้านเดี่ยวเปิดตัวโครงการใหม่ระดับ 6-10 ล้านบาท มีอัตราขายได้เฉลี่ย 13% เปิดตัวสะสมในทำเลบางใหญ่-ราชพฤกษ์ รองลงมาคือ ประชาอุทิศ-พุทธบูชา และบ้านแฝดเปิดตัวโครงการใหม่ระดับ 3-6 ล้าน มีอัตราขายได้เฉลี่ย 12% เปิดตัวสะสมในทำเลบางนา-ตราด สุวรรณภูมิ รองลงมาคือ บางใหญ่-ราชพฤกษ์


สำหรับโครงการบ้านระดับพรีเมี่ยม มีจำนวน 18 โครงการ มูลค่ารวม 27,297 ล้านบาท รูปแบบบ้านเดี่ยว ระดับราคา 10-30 ล้านบาท และมากกว่า 50 ล้านบาท โดยเปิดตัวสะสมในทำเล บางนา-สุวรรณภูมิ


ขณะที่นโยบายโครงการบ้านล้านหลัง ปรับเพิ่มเกณฑ์ราคาจาก 1.2 ล้านบาท เป็น 1.5 ล้านบาทต่อหลัง ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นกำลังซื้ออสังหาฯ ในระดับราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565


ในขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยจาก 3.5-4.5% มาอยู่ที่เติบโตต่ำกว่า 3% ผลจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยพื้นฐานของสหรัฐฯ ขึ้นมาอยู่ที่ 1.5-1.75% และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องโดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะอยู่ที่ 3% ทำให้คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ประมาณ 0.25%-0.50% เป็น 0.75%-1.00% เพื่อลดผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่ขยับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเดือน พ.ค. พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 7.10% สูงสุดในรอบ 13 ปี ทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างและราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้น

30 views

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page